วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันที่ 29 สิงหาคม 2562




วันนี้เรียน บทที่ 3 การสื่อสารกับผู้ปกครอง

ความหมายของการสื่อสาร
        การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจ ที่ตรงกันเพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตที่มีความสุข
ความสำคัญของการสื่อสาร

1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2.
ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3.
สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4.
ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5.
ความเข้าใจและการตอบสนอง
คำถามท้ายบท
1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ  การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสาร มีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ 
2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ  -ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม 
-ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย 
-ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจชีวิต
3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด 
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ    รูปแบบการสื่อสารของลาส์เวล เป็นรูปแบบการสื่อสารที่เข้าใจได้ง่าย 
           ตัวอย่าง ลูกโทรหาพ่อเพื่อให้พ่อมารับ
4.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจ
เกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ   1.ความพร้อม
2.ความต้องการ
3.อารมณ์และการปรับตัว
4.การจูงใจ
5.การเสริมแรง
6.ทัศนคติความสนใจ
7.ความถนัด

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลาค่ะ แต่งกายสุภาพค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนค่ะ ไม่ส่งเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเข้าใจดีค่ะ

บันทึกหลัวการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันที่ 22 สิงหาคม 2562




วันนี้เรียน บทที่ 2 หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
                 สรุปได้ว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคมซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งในและนอกระบบ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต
ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
    1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
    2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
    3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
    4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
    5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง
คำถามท้ายบท
1. การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองมีความสำคัญอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ       1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
    2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
    3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
    4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
    5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง
2.  ในสถานศึกษาปฐมวัยสามารถดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองในลักษณะหรือรูปแบบใดบ้าง จงอธิบาย และยกตัวอย่างของกิจกรรม
ตอบ 
1. กิจกรรมโรงเรียน ได้แก่ กิจกรรมที่เน้นให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม 
2. กิจกรรมสานสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมที่เน้นการสร้างความสัมพันธ์และความคุ้นเคยกันในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 
3.  กิจกรรมการสื่อสารสนเทศ กิจกรรมนี้จะเน้นให้ผู้ปกครองเป็นผู้รับข้อมูลเป็นหลัก 
4. กิจกรรมการศึกษา เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการเรียน การสอน 
5. กิจกรรมบริการ เป็นกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นเพื่อเป็นการบริการแก่สังคมและครอบครัว 
6. กิจกรรมการตัดสินใจ เป็นกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองระดับสูง
3. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรในการใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครอง
ตอบ เห็นด้วย ทำให้บรรยากาศเหมือนอยู่ในบ้าน ดูอบอุ่น และเข้าใจในด้วยเด็กมากขึ้น 
4.  องค์ความรู้ที่จำเป็นในการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง
ตอบ  1. สร้างเสริมความรู้ของผู้ปกครองเกี่ยวกับธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก
  2. สร้างเสริมความเข้าใจในบทบาทของผู้ปกครอง และอิทธิพลของครอบครัวที่มีต่อเด็ก
  3. สร้างเจตคติที่ถูกต้องในการเลี้ยงดูเด็ก
  4. สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครองในการดูแลเด็ก
  5. สร้างความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก

ประเมินตนเอง : มาตรงเวลาค่ะ ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนค่ะ ไม่คุยเสียงดังค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์บรรยายเข้าใจดีค่ะ

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันที่ 15 สิงหาคม 2562 







วันนี้เรียน บทที่ 1 ความหมายของผู้ปกครอง

         ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา ญาติพี่น้องหรือบุคคลอื่นที่ให้การอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในการดูแลให้ความรักและความเอาใจใส่ห่วงใยตลอดจนให้การศึกษาแก่เด็ก
ความสำคัญของผู้ปกครอง
             สรุปได้ว่า พ่อแม่ ผู้ปกครองมีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก ซึ่งพ่อแม่มีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้ที่มีความหมายต่อชีวิตเด็กทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจเป็นผู้ที่เด็กมอบความรักด้วยความบริสุทธิ์ใจ สังคมและสติปัญญา โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยถือเป็นพื้นฐานในการพัฒนาบุคลิกภาพในอนาคต ผู้ปกครองจึงเป็นผู้นำที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่เหมาะสมเพื่อการก้าวสู่โลกกว้างได้อย่างมั่นคงและมีความพร้อมในทุกด้าน 
คำถามท้ายบท
1. ในสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักศึกษาคิดว่าบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองที่มีต่อเด็กปฐมวัยมีอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
       ตอบ  ในความคิดของดิฉัน คิดว่าบทบาทหน้าที่ของผู้ปกครองในสังคมปัจจุบัน มีความบกพร่องอย่างมาก อาจจะเกิดจากปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคมรอบตัวเด็ก สภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก สื่อต่างๆที่เข้ามาในชีวิตและมีบทบาทมากกว่าครอบครัว จะเห็นได้จากข่าวที่เด็กวัยปฐมวัยถูกทำร้ายร่างกายมากขึ้นในสังคมปัจจุบันค่ะ
2. จงอธิบายวิธี แนวทางที่ผู้ปกครองสามารถใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญาให้แก่เด็กปฐมวัย
        ตอบ  
       1.ด้านร่างกาย
      การที่เด็กได้รับการสัมพันธ์โอบกอดจากพ่อแม่ จะเป็นการกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก และสนองตอบความตื่นตัวของระบบประสาทของเด็ก นอกจากนี้ พ่อแม่ควรจัดเวลา สถานที่ เพื่อให้ลูกได้เคลื่อนไหว ออกกำลังกายและเล่นได้อย่างปลอดภัย ลูกจะเรียนรู้ได้มากจากการเล่น ได้แสดงออก เลียนแบบท่าทางจากคนที่เล่นด้วย พ่อแม่ควรสังเกตพฤติกรรมพัฒนาการของลูก เพื่อจะได้เข้าใจธรรมชาติและความรู้สึกนึกคิดของลูก
         2.ด้านอารมณ์/จิตใจ
        พ่อแม่ผู้ปกครองควรดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด ด้วยความรักและความเข้าใจ ทำให้ลูกมีจิตใจดีให้โอกาสลูกเรียนรู้ และฝึกทำสิ่งต่างๆในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเป็นมิตร พ่อแม่ต้องรับฟังและพูดคุยโต้ตอบกับลูก จำเป็นต้องให้เวลาและเอาใจใส่ลูกอย่างสม่ำเสนอ เพื่อสร้างความมั่นคงทางจิตใจ การฝึกให้ลูกเป็นคนมีน้ำใจมีคุณธรรมจะทำให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต
         3.ด้านสังคม
        เด็กจะซึมซับค่านิยม และวัฒนธรรมที่ดีจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ไม่ว่าเป็นมารยาททางสังคม หรือแม้แต่เรื่องราวระเบียบวินัยทางสังคม การรักและชื่นชมธรรมชาติล้วนเป็นเรื่องที่พ่อแม่ ต้องชี้ให้ลูกสนใจและปลูกฝัง ด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดี เพราะเด็กจะเลียนแบบจากผู้ที่พบเห็น ซึ่งจะทำให้เด็กรู้จักกาลเทศะ รู้ผิดรู้ชอบและคุ้นเคยกับสิ่งที่ดีงาม เป็นประโยชน์ต่อชีวิต         4.ด้านสติปัญญา
        พ่อแม่สามารถจูงใจให้ลูก มีความใฝ่รู้ กล้าแสดงความคิดเห็น ฝึกให้ลูกเป็นคนรู้จักคิดได้โดยให้ความสนใจ ในสิ่งที่ลูกกำลังทำ ฝึกให้ลูกสังเกตสิ่งต่างๆรอบๆตัว ให้ลูกได้มีโอกาสเรียนรู้จากการลองถูกลองผิดบ้าง ให้มีความคิดที่แปลกใหม่ พยายามให้เด็กได้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ทั้งนี้ ควรอยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผล ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาได้ หากเข้าใจ ถึงแนวทางพื้นฐานเบื้องต้น คือ การฝึก การสังเกต ที่สำคัญ เสรีภาพในครอบครัวจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์ สามารถประสบความสำเร็จในอนาคตได้ ทั้งนี้พ่อแม่ต้องไม่ปิดกั้นหนทางในการสร้างสรรค์ของลูกน้อย

3. การฝึกให้เด็กเป็นคนดี คนขยันและฉลาด ผู้ปกครองควรปฏิบัติอย่างไร
           ตอบ  เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็ก อาจจะมีสื่อมาช่วยให้เด็กเกิดความเข้าใจง่ายขึ้น  เช่น นิทาน
4. ปัญหาที่เป็นอุปสรรค์ของผู้ปกครองที่มีผลกระทบต่อเด็กปฐมวัย คือปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องใด จงอธิบาย
       ตอบ ปัญหาของครอบครัว เช่น การหย่าร้างของผู้ปกครอง การเลี้ยงดูแลลูกคนเดียว สภาพที่อยู่อาศัย  เป็นต้น 


ประเมินตนเอง : มาเรียนตรงเวลาค่ะ ตั้งใจเรียน มีบางครั้งที่เล่นโทรศัพท์ค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนค่ะ ไม่คุยเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายรายละเอียดเข้าใจดีค่ะ

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันที่ 8 สิงหาคม 2562






วันนี้วันแรกที่พบกับอาจารย์ค่ะ  อาจารย์อธิบายรายละเอียดวิชา งาน กิจกรรมต่างๆ ในวิชาการให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

 วันนี้เป็นการนำเสนอรายละเอียดของโครงการแต่ละกลุ่มที่ได้ไปจัดแต่ละสถานที่ของกลุ่มตนเอง กลุ่มของดิฉันได้นำเสนอในโครงการ"ศิลปะส...